วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


Assignment 5
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
1. จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
 ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆเทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับลักษณะของเทคโนโลยี
           
   สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
      เช่น สารสนเทศที่เป็น
 ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ


2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
 ตอบ  Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง
          เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความ หมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT
  3.เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
 ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: information and communication[s] technology; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี)  กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้ 
นักวิจัยทางวิชาการเริ่มใช้ศัพท์ ไอซีที ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา  แต่มันเป็นที่นิยมหลังจากเดนนิส สตีเฟนสันใช้ศัพท์นี้ในรายงานเพื่อแถลงต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1997  และปรากฏในหลักสูตรแห่งชาติฉบับปรับปรุงของอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือเมื่อ ค.ศ. 2000
นอกจากนี้ศัพท์ ไอซีที ในปัจจุบันนี้ก็ยังหมายถึงการลู่เข้าของเครือข่ายโทรศัพท์และระบบโสตทัศน์ เข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเคเบิลสายเดียวหรือระบบเชื่อมต่อหนึ่งเดียว มีสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เพื่อที่จะผสานระบบโสตทัศน์ การจัดการสิ่งปลูกสร้าง และเครือข่ายโทรศัพท์ เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบเคเบิล การจัดการและการกระจายสัญญาณ แบบรวมศูนย์เพียงหนึ่งเดียว ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างยิ่งเนื่องจากเครือข่ายโทรศัพท์จะถูกขจัดออกไป
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยอย่างไร
ตอบ 

                           เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ที่มาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ต่อมามนุษย์ได้พยายามพัฒนาทั้งวิธีการจัดส่งและเทคโนโลยีในการจัดส่ง การเพิ่มความเร็วด้วยการปรับปรุงวิธีการจัดส่งจากรูปแบบของการเดินทางมาเป็นม้า รถ และเครื่องบินตามลำดับนั้น จนกระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น บริการโทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์ และด้วยเทคโนโลยีโทรคมนาคมดังกล่าว มนุษย์สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก และแม้กระทั่งจากนอกโลกได้ เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างยานอวกาศกับสถานีภาคพื้นดินในเวลาที่รวดเร็วมาก จนกระทั่งอาจจะกล่าวได้ว่าผู้รับข่าวสารได้รับข่าวสารในเวลาเดียวกันกับที่ผู้ส่งข่าวสารได้เริ่มส่งข่าวสาร
การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ได้กล่าวมาเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1841 – 1970) อย่างไรก็ดี การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการวิวัฒนาการและค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในสังคมธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มองเห็นการเคลื่อนตัวของสังคมมนุษย์จากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไปเป็นยุคข่าวสารข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับบริการใหม่ๆ เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สื่อผสม (Multimedia) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีกว่า จากการใช้ยากมาเป็นใช้ง่าย ซึ่งช่วยสนับสนุนให้เทคโนโลยีโทรคมนาคมเกิดการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วย

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence : AI) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)
Artificial Intelligence (AI) หมายถึงอุปกรณ์ที่ต้องรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็วภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึงการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้เรียนรู้ได้ทำงานได้เหมือนสมอมนุษย์ ซึ่งการทำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสองมนุษย์ฉนั้นความสามารถของคอมพิวเตอรืทางด้านสติปัยยาและด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
สิ่งที่สำคัญทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีสองประการคือ
1. ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
2. ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้นความหมายของปัญยาประดิษฐ์ จึงหมายถึงความสามารถของระบบการทำงานคล้ายคลึงกับสติปัยยาของมนุษย์จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิฐ์
วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์(Evolution of AI) ได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่1950โดยมีลักษณะเป็นตัวประมวลผลโปรแกรมการใช้งานซึ่งทำงานภายใต้สัญลักษณ์และเครื่องหมายมากกว่าเรื่องของตัวเลข
ปัญญาประดิษฐ์ พัฒนามาจากหลายสาขาวิชาประกอบด้วย
1. สาขาวิชาคริตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้านเกมส์ต่างๆเช่นการเล่นOXหมากรุกฝรั่ง
2. สาขาจิตรวิทยาในเรื่องการฟังและการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตซึ่งการพัฒนาสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นโดนผ่านผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมหมากรุกฝรั่งในช่วงแรกๆเป็นโปรแกรมที่ได้มาจากการใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการทำงานโดยการคำนวณผลกระทบของการเดินแต่ละครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเดินแบบไหนจึงจะดีที่สุดซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ป็นวิธีการเล่นของมนุษย์เพราะวิธีการเดินแต่ละก้าวของมนุษย์ล้วนมาจากประสบการณ์และกฏเกณฑ์การปฏิบัติฉนั้นถ้าโปรแกรมหมากรุกอาศัยการทำงานแบบกฏเกณฑ์ด้านการปฏิบัติก็หมายถึงเทคนิคด้านการประดิษฐ์
ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)
ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet)
ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)
เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)
เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents)
ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
2. Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)
ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความ
สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่าและรวดเร็ว มีการทำ
กิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้
เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความ
สะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่าง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา ดังรูปที่ 1.14
1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ที่อยู่ห่าง
ไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง
2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียน
การสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ
 ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้
ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com, ask.com, dogpile.com และ wikipedia.org ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากหลักฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต 
ดังรูปที่ 1.15

เกร็ดน่ารู้
ระบบการลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้ โดยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง และการเรียนการสอนเป็นวันอะไรเวลาอะไร วิชานั้นๆมีผู้สมัครเรียนกี่คน เต็มจำนวนที่สามารถรับแล้วหรือไม่ ซึ่งจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถลงทเบียนเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดหรือไม่ จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการพิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน พร้อมทั้งคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการลงทะเบียนแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจะทำการการพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา เพื่อแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ได้ทราบว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นกี่คน ข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การพิมพ์รายชื่อนัดศึกษาเพื่อการกรอกคะแนนและเกรด

  1. นักศึกษาตรวจสอบวิชาที่เปิดสอน ตารางสอน
  2. ตรวจสอบวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่
  3. พิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนและคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียน
  4. พิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา
  5. ข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การจัดพิมพ์รายชื่อนักศึกษา เพื่อการกรอกคะแนนและเกรด

1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
ดังรูปที่ 1.16
1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม









ดังรูปที่ 1.17

1.3.4 ด้านการเงินการธนาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ 



ดังรูปที่ 1.18
ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ
1.3.5 ด้านความมั่นคงมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง
ดังรูปที่ 1.19
1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร

การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 
ดังรูปที่ 1.20

เกร็ดความรู้
ระบบควบคุมไฟจราจร

การควบคุมไฟจราจรด้วยคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สัญญาณไฟจราจรตามทางแยกมีการปิดเปิดสัญญาณไฟเขียวอย่างสัมพันธ์กัน เครื่องตรวจสอบสภาพจราจร เป็นเครื่องนับจำนวนรถที่ผ่านไปต่อ 1 หน่วยเวลา ซึ่งอาจใช้ห่วงลวดเหนี่ยวนำฝังไว้ใต้ผิวถนน เมื่อมีรถยนต์วิ่งผ่านจะทำให้การเหนี่ยวนำมีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์ แล้วส่งสัญญาณกลับมาควบคุมการปิดเปิดไฟจราจรที่ทางแยกต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะการจราจรในขณะนั้น
เซ็นเซอร์ตามถนนจะเก็บข้อมูลที่เป็นตัวนำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นข้อมูล ( ทิศทางและปริมาณของการจราจร ) ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมสัญญาณไฟจราจร
1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว 
ดังรูปที่ 1.21
1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า 


7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
     ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

     1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย 

     2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย 

     3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ 

     4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น 

     5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด 

     คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องพยายามจัดระบบให้มีความพร้อมครบถ้วนและพร้อมที่จะใช้งานได้ ปัญหาสำคัญที่องค์การส่วนมากมักจะต้องเผชิญ คือ การไม่สามารถสนองข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลให้ทันกับความจำเป็นใช้ในการที่จะต้องดำเนินการหรือตัดสินปัญหาบางประการ ดังเช่น ถ้าหากมีเหตุเฉพาะหน้าที่ต้องการบุคคลที่มี       คุณสมบัติอย่างหนึ่งในการบรรจุเข้าตำแหน่งหนึ่งอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งหากผู้จัดเตรียม    ข้อมูลจะต้องใช้เวลาประมวลขึ้นมานานเป็นเดือนก็ย่อมถือได้ว่า ข้อมูลที่สนองให้นั้นช้ากว่าเหตุการณ์ หรือในอีกทางหนึ่ง บางครั้งแม้จะเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นข้อมูลที่เป็นรายละเอียดมากเกินไปที่ไม่อาจพิจารณาแยกแยะคุณสมบัติที่สำคัญ หรือข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างเด่นชัด ก็ย่อมทำให้การใช้ข้อมูลนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก

     นอกจากลักษณะที่ดีของสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่แอบแฝงของสารสนเทศอีกบางลักษณะที่สัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ และวิธีการดำเนินงานของระบบ          สารสนเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญแตกต่างกันไปตามลักษณะงานเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่

     1. ความละเอียดแม่นยำ คือ สารสนเทศจะต้องมีความละเอียดแม่นยำในการวัดข้อมูล ให้ความเชื่อถือได้สูง มีรายละเอียดของข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกต้อง 

     2. คุณสมบัติเชิงปริมาณ คือความสามารถที่จะแสดงออกมาในรูปของตัวเลขได้ และสามารถเปรียบเทียบในเชิงปริมาณได้ 

     3. ความยอมรับได้ คือ ระดับความยอมรับได้ของกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศอย่างเดียวกัน สารสนเทศควรมีลักษณะเดียวกันในกลุ่มผู้ใช้งาน หรือใกล้เคียงกันโดยสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น การใช้เครื่องมือเพื่อวัดคุณภาพการผลิตสินค้า เครื่องมือดังกล่าวจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ว่าสามารถวัดค่าของคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 

     4. การใช้ได้ง่าย คือ ความสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทั้งในส่วนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน 

     5. ความไม่ลำเอียง ซึ่งหมายถึง ไม่เป็นสารสนเทศที่มีจุดประสงค์ที่จะปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง หรือแสดงข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง 

     6.  ชัดเจน ซึ่งหมายถึง สารสนเทศจะต้องมีความคลุมเครือน้อยที่สุด สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย


8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ตอบ 

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ใน สังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำ วันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น  นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ ก่อให้เกิด เครื่องมือหรือวิธีการในการอำนวยความสะดวกในการใช้บริการอย่างรวดเร็ว เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถให้บริการโดยเชื่อมต่อ ระบบออนไลน์ (online system) ซึ่งเป็นระบบสายตรงที่มีประโยชน์มาก และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น กรณีตัวอย่าง เช่น การรับบริการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาล ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ โดยผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรงพยาบาลมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ทำให้เวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งจาก คอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจของแพทย์ได้ทันที เมื่อแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสั่งการรักษาหรือสั่งยา จากห้องแพทย์ไปสู่แผนกเอ็กซเรย์ แผนกจ่ายยา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ 

กระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระแสโลกาภิวัฒน์  ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพ เช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  การบิน วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์  การศึกษา  หรือการเรียนการสอน  ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ  ของโลกได้ทันเหตุการณ์   สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่  เช่น การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ  รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล   สืบค้นข้อมูล   ฟังเพลง   รวมถึงการประยุกต์ใช้  ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ  และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไปพร้อมๆ กัน
             การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  จะอาศัยองค์ประกอบต่างๆ มากมาย เช่น การใช้โทรศัพท์ ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ ในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศ ไปยังสถานีแม่ข่าย หรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง ดังนั้น เครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไป จะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่นเสียงที่เราพูดคุยกันและในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือ  รุ่นที่สามหรือ  3G  ส่งสัญญาณเสียง  และภาพพร้อม  กันโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อมๆ กัน

10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษต่อผู้ใช้ในสังคม
ตอบ 

ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีทั่วไป
-1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
-2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
-3 เป็นแหล่งความบันเทิง
-4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
-5 ลดต้นทุนการผลิต
-6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
-8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
-9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
-10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
-11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
**ข้อ 6-10 อำนวยวิทยาทานโดยคุณ “หนูน้อยแสนฉลาด”
**ข้อ 11 อำนวยวิทยาทานโดย “อ. จุฬาภรณ์”
โทษของเทคโนโลยีทั่วไป
-1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
-2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
-3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
-4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
-5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
-6 หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
**ข้อ 6 อำนวยวิทยาทานโดย “อ. จุฬาภรณ์”
ถ้าเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ คนไหนคิดออกมากกว่านี้ ให้ใส่ความคิดเห็นในช่อง Comment ด้านล่าง อิเฎลจะรวบรวม และมาเพิ่มในหน้านี้ เราจะให้เกียรติ credit คุณเสมอ
การซื้อ CD ของแท้ มีลิขสิทธิ์